ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม
ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมภายในอำเภอกระบุรี
ประวัติความเป็นมา
อำเภอกระบุรีนี้ เคยมีฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นต่อเมืองชุมพร ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ผู้มีตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองกระบุรี ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นใคร แต่มีผู้เล่าลือต่อๆ กันมาว่า เจ้าเมืองกระคนแรก ชื่อ “แก้ว” เป็นชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้มาตั้งหลักฐานเป็นนายบ้านปกครองดูแลทุกข์สุขของราษฎรในแถบนั้น ภายหลังได้พบกระตัวหนึ่ง ในแม่น้ำปากจั่น (กระนี้รูปร่างคล้ายเต่า)
สถานที่ตั้งเมืองกระครั้งแรกตั้งอยู่ที่ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี ขณะนี้เรื่องสถานที่ตั้งพอจะยืนยันได้ เพราะยังมีดินเป็นเชิงเทินที่ตั้ง ศาลาว่าการเมือง และยังมีคูเมืองปรากฏเป็นหลักฐานที่จะสังเกตได้อยู่ในขณะนี้ ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ.2427 ได้ย้ายตัวเมืองกระมาอยู่ที่ตำบลน้ำจืด (บริเวณเทศบาลตำบลน้ำจืดในขณะนี้) และมีพระอัษฎงคตทิศรักษา(คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นเจ้าเมืองคนแรกและคนสุดท้าย เมืองกระในสมัยพระอัษฎงคตทิศรักษา เป็นผู้ว่าราชการเมือง จากพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้ เหตุที่ย้ายตัวเมืองจากตำบลปากจั่น ก็ทราบเหตุผลจากพระราชหัตถเลขาฉบับนั้นเหมือนกันว่า “ความคิดพระอัษฎงค์ ที่ยกเมืองมาตั้งที่น้ำจืดนี้ เพื่อให้เรือใหญ่ขึ้นถึงได้ การค้าขายจะได้ติดและระยะนี้คลองกว้าง ถ้าชักคนลงมาติดได้ที่นี่ การที่จะข้ามไปข้ามมากับฟากอังกฤษจะยากขึ้นหน่อยหนึ่ง หาไม่โจรผู้ร้ายหนีข้ามไปข้ามมาได้ง่าย อีกประการหนึ่งที่แถบนี้ มีทำเลที่ทำนากว้าง ถ้าติดตั้งเป็นบ้าน เป็น เมือง ก็จะ เป็นที่ ทำมา หากินได้มาก เดี๋ยวนี้ ขัดอยู่อย่างเดียวแต่เรื่องที่คนไม่มีพอแก่ภูมิที่เท่านั้น”
เมืองกระบุรี ได้ยกฐานะลงเป็นอำเภอกระบุรี ในจังหวัดระนอง เมื่อได้จัดการปกครองเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ราวปี พ.ศ.2439 มีหลวงจันทร์ภักดีสีหราชรองเมือง (ย้อย ธนบัตร) เป็นนายอำเภอคนแรก และมีฐานะเป็นอำเภอจนกระทั่งบัดนี้
อำเภอกระบุรีตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองใกล้เคียง ดังนี้
ข้อมูลทั่วไปจังหวัดระนองโดยสังเขป
จังหวัดระนองเป็นจังหวัดภาคใต้ตอนบน ด้านทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน และ ประเทศพม่า โดยมีระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม ) ประมาณ 568 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,298.045 ตารางกิโลเมตร ( 2,061,278 ไร่ ) เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 60 ของประเทศไทย เป็นพื้นที่ราบ 14% และภูเขา 86 % มีเกาะใหญ่น้อยในทะเล อันดามัน จำนวน 62 เกาะ และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอเมือง,อำเภอสวี,อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และอำเภอไชยา , อำเภอท่าฉาง , อำเภอบ้านตาขุน และกิ่งอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ติดต่อกับ ประเทศพม่า และทะเลอันดามัน